Health

  • ตากระตุก น่ารำคาญแต่อาจเป็นสัญญาณบอกโรคร้าย
    ตากระตุก น่ารำคาญแต่อาจเป็นสัญญาณบอกโรคร้าย

    ตากระตุก คือ อาการที่เปลือกตามีการขยับเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว อาจเป็นเพียงเล็กน้อย หรืออาจเกิดขึ้นถี่ๆ จนทำให้เกิดความรำคาญได้ มักเป็นอาการที่ไม่รุนแรง ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการกระตุก เช่น นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียด การดื่มชา/กาแฟหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ในบางกรณีอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงโรคร้ายบางชนิดได้เช่นกัน สามารถดูแลตัวเองง่ายๆ ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นให้เกิดอาการ แต่หากยังไม่ดีขึ้นควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาอาการตากระตุกที่เหมาะสมต่อไป

    ตากระตุก คืออะไร

    ตากระตุก (Eye Twitching) คือ อาการที่เปลือกตามีการขยับเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว อาจเป็นเพียงเล็กน้อย หรืออาจเกิดขึ้นถี่ๆ จนทำให้เกิดความรำคาญได้ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเปลือกตาบนและเปลือกตาล่าง แต่มีอัตราการเกิดที่เปลือกตาบนมากกว่า โดยทั่วไปอาการตากระตุกนั้นมักเป็นอาการที่ไม่รุนแรง ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดและมักไม่เป็นอันตราย สามารถเกิดขึ้นและหายได้เองในเวลาอันสั้น แต่ในบางกรณีอาการอาจรุนแรงและไม่สามารถหายเองได้ เช่น อาการตากระตุกเกร็งจนทำให้เปลือกตาด้านบนปิดลงมา หรืออาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงบางอย่าง เช่น โรคอัมพาตใบหน้า (Bell’s Palsy)  โรคกล้ามเนื้อบิดเกร็ง (Dystonia) เป็นต้น แต่กรณีนี้พบได้น้อยมาก

    สาเหตุของการกระตุกเกิดจากอะไร

    อาการตากระตุกสามารถเกิดขึ้นได้เองโดยไม่มีสัญญาณเตือนให้รู้ล่วงหน้า โดยมักเกิดขึ้นจากปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการ ดังนี้

    1. นอนหลับไม่เป็นเวลา พักผ่อนไม่เพียงพอ
    2. มีความเครียดสะสมเป็นเวลานาน
    3. ดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป
    4. สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
    5. แสงสว่าง แสงจ้า
    6. ลม หรือมลพิษทางอากาศ
    7. ตาล้า ตาแห้ง
    8. เกิดการระคายเคืองที่เปลือกตาด้านใน  โรคภูมิแพ้
    9. การขาดวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารบางชนิด
    10. ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด

    การดูแลตัวเองเบื้องต้นเมื่อมีอาการตากระตุก

    1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
    2. พยายามลดการใช้ Smart phone หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลง
    3. ลด/หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ
    4. งดการสูบบุหรี่ รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    5. พยายามหาสิ่งที่ช่วยให้ผ่อนคลาย ไม่เครียดกับอาการที่เป็น
    6. นวดกล้ามเนื้อรอบดวงตา
    7. ประคบร้อน/อุ่นบริเวณดวงตา ประมาณ 10 นาที
    8. หากเกิดอาการตาแห้ง หรือเกิดอาการระคายเคืองตา สามารถหยอดน้ำตาเทียมได้

    อาการที่ควรพบแพทย์

    ตาขวากระตุกอาจไม่ได้หมายถึงโชคร้าย โดยทั่วไปแล้ว อาการตากระตุกมักจะเป็นเพียงไม่กี่วันและสามารถหายเองได้ แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาที่เหมาะสม

    • มีอาการตากระตุกติดต่อกันนานเป็นเวลา 2 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น
    • มีตำแหน่งที่เกิดตากระตุกเพิ่มขึ้นจากบริเวณเดิม อาจเป็นที่ตาอีกข้างหนึ่ง เช่น ตาขวากระตุก แล้วตาซ้ายกระตุก หรือเป็นที่บริเวณอื่นๆ ของใบหน้า
    • บริเวณที่เกิดตากระตุกมีอาการอ่อนแรงหรือหดเกร็ง
    • มีอาการบวม แดง หรือมีสารคัดหลั่งไหลออกมาจากดวงตา
    • เปลือกตาด้านบนห้อยย้อยลงมา รบกวนการมองเห็น
    • เปลือกตาปิดสนิททุกครั้งที่เกิดอาการตากระตุก

    การรักษาอาการตากระตุก

    หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น และดูแลตัวเองเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ ซึ่งการรักษานั้นจะเป็นไปตามความรุนแรงและดุลยพินิจของแพทย์ ดังนี้

    1. การให้ยารับประทาน ตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อช่วยบรรเทาอาการและหยุดอาการตากระตุกชั่วคราว เช่น ยาลอราซีแพม (Lorazepam) ยาไตรเฮกซีเฟนิดิล (Trihexyphenidyl) และยาโคลนาซีแพม (Clonazepam) แต่เนื่องด้วยยาเหล่านี้ยังมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ จึงต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
    2. การฉีด Botulinum Toxin หรือ Botox  การฉีดโบท็อกซ์นั้นได้ผ่านการรับรองให้ใช้รักษาอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งที่ควบคุมไม่ได้ ปัจจุบันเป็นวิธีที่นิยมและแนะนำมากที่สุดที่ใช้ในการรักษาอาการตากระตุก แพทย์จะฉีดยาโบท็อกซ์ลงไปบริเวณกล้ามเนื้อรอบดวงตาที่มีอาการกระตุก เพื่อให้กล้ามเนื้อเหล่านั้นอยู่ในสภาพอ่อนแรงชั่วคราว ไม่สามารถหดเกร็งตัวได้ เปรียบเสมือนการผ่อนคลายกล้ามเนื้อเปลือกตามัดนั้นๆ และช่วยบล็อคไม่ให้เส้นประสาทส่งสัญญาณไปที่กล้ามเนื้อให้เกิดการกระตุกนั่นเอง
      หลังจากฉีดโบท็อกซ์แล้วอาการตากระตุกจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม ผลของโบท็อกซ์นั้นจะอยู่เพียงแค่ 3-6 เดือนเท่านั้น เพราะฉะนั้น เมื่อยาหมดฤทธิ์แล้วอาการตากระตุกอาจจะกลับมาได้ จึงแนะนำให้กลับไปพบแพทย์อีกครั้งหากยังมีอาการ

    ตากระตุก

    กล้ามเนื้อเปลือกตาเขม่น

    กล้ามเนื้อเปลือกตาเขม่น (Eyelid Myokymia) คือ ภาวะที่เปลือกตามีอาการเต้นหรือกระตุก เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยมีอาการเต้นหรือกระตุกเฉพาะบริเวณเปลือกตา ส่วนมากจะเป็นเพียงข้างเดียว พบว่าเกิดกับเปลือกตาล่างบ่อยกว่าเปลือกตาบน อาการมักเป็นสั้นๆ และหายเองได้ในเวลาไม่กี่วินาทีหรือเป็นชั่วโมง แต่บางครั้งอาจมีอาการนานหลายสัปดาห์ได้

    สาเหตุของกล้ามเนื้อเปลือกตาเขม่น ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีหลายปัจจัยที่อาจกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเปลือกตาเขม่น อาทิ

    • ความเหนื่อยล้า
    • ความเครียด
    • ความวิตกกังวล
    • การดื่มคาเฟอีน
    • การดื่มแอลกอฮอล์
    • การออกกำลังกาย
    • การสูบบุหรี่
    • อาการระคายเคืองตา
    • แสงจ้า
    • ลมหรือมลภาวะทางอากาศ
    • ยาบางชนิด เช่น Topiramate, Clozapine, Gold Salts, Flunarizine ฯลฯ

    ส่วนใหญ่แล้วกล้ามเนื้อเปลือกตาเขม่นมักจะหายได้เองถ้าหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว 

    • ตาเขม่นไม่หายเป็นเวลานาน 2 – 3 สัปดาห์
    • ตาเขม่น ทำให้ลืมตายากหรือตาปิด
    • มีการกระตุกบริเวณอื่นของใบหน้าหรือร่างกายร่วมด้วย
    • ตาแดงหรือมีขี้ตา
    • เปลือกตาตก

    รักษากล้ามเนื้อเปลือกตาเขม่น

    • ส่วนมากสามารถหายเองได้ โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นต่างๆ 
    • หากเป็นมากจนรบกวนชีวิตประจำวันหรือนานเกิน 3 เดือน อาจพิจารณาให้รักษาด้วยการฉีด Botulinum Toxin

    กล้ามเนื้อใบหน้าเกร็งกระตุกครึ่งซีก

    กล้ามเนื้อใบหน้าเกร็งกระตุกครึ่งซีก (Hemifacial Spasm) คือ ภาวะที่มีการกระตุกของกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีก มักพบในช่วงอายุ 50 – 60 ปี และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อาการมักเริ่มที่เปลือกตาก่อนแล้วค่อยๆ เป็นมากขึ้น โดยมีอาการกระตุกที่แก้มและริมฝีปากด้านเดียวกัน อาการกระตุกนี้ไม่สามารถควบคุมได้ เมื่อโรครุนแรงขึ้นจะมีอาการกระตุกเกือบตลอดเวลา อาจพบอาการกระตุกขอบใบหน้าอีกฝั่งได้ แต่พบน้อยมาก และจะมีอาการกระตุกไม่พร้อมกัน

    อาการใบหน้ากระตุกอาจถูกกระตุ้นได้จากปัจจัยต่างๆ อาทิเช่น

    • การเคลื่อนไหวใบหน้า
    • ความวิตกกังวล
    • ความเครียด
    • ความเหนื่อยล้า
    • ฯลฯ

    กล้ามเนื้อใบหน้าเกร็งกระตุกครึ่งซีกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

    1. Primary Hemifacial Spasm คือ การที่เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 โดนกดทับจากเส้นเลือดบริเวณใกล้เคียง ทำให้เกิดความผิดปกติของการควบคุมกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า เกิดการกระตุกของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าและเปลือกตา
    2. Secondary Hemifacial Spasm พบได้น้อยกว่า Primary Hemifacial Spasm บางครั้งอาจไม่ทราบสาเหตุ และพบว่าบางรายมีประวัติครอบครัวร่วมด้วย โดยอาจเกิดจาก
      • เส้นเลือดแข็งตัว (Atherosclerosis)
      • เส้นเลือดผิดปกติ (Arteriovenous Malformation)
      • เส้นเลือดโป่งพอง (Aneurysm)
      • เนื้องอกของต่อมน้ำลาย
      • เนื้องอกที่บริเวณ Cerebellopontine Angle
      • การบาดเจ็บของเส้นประสาทคู่ที่ 7
      • รอยโรคของก้านสมอง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคปลอกประสาทอักเสบ และ Bell’s Palsy

    ตรวจวินิจฉัยโรค

    • ซักประวัติและตรวจร่างกาย
    • การตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น การตรวจสมองและเส้นประสาทสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ฯลฯ

    รักษากล้ามเนื้อใบหน้าเกร็งกระตุกครึ่งซีก

    • กลุ่มยากันชัก อาจช่วยลดอาการได้บ้างในบางราย
    • การฉีด Botulinum Toxin
    • การผ่าตัด Microvascular Decompression ในกรณีที่มีเส้นเลือดกดทับเส้นประสาท

     

    จะเห็นได้ว่า อาการตากระตุกนั้น แม้เป็นอาการที่ไม่อันตราย และส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นและหายไปเองอย่างรวดเร็ว แต่ก็สร้างความรำคาญให้ผู้ที่เป็นได้พอสมควร ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอาการตากระตุกที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ จึงควรดูแลตัวเองด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยการเกิดตากระตุกแทน แนะนำให้ใส่ใจดูแลสุขภาพของตัวเอง ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ จำกัดการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และสมาร์ทโฟน จำกัดปริมาณการสูบบุหรี่ และปริมาณการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงควรหากิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดด้วยเช่นกัน เช่น โยคะ ออกกำลังกาย ปลูกต้นไม้ เป็นต้น เท่านี้ก็จะช่วยลดความเสี่ยงและโอกาสการเกิดตากระตุกได้ แต่หากมีอาการต่อเนื่องยาวนาน ดูแลตัวเองเบื้องต้นแล้วยังไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม

     

    เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ ที่น่าสนใจ

     

    ที่มาของบทความ

     

    ติดตามเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่ technobiography.com

    สนับสนุนโดย  ufabet369

Economy

  • ศาลปกครองสูงสุดยกฟ้อง คดีล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม
    ศาลปกครองสูงสุดยกฟ้อง คดีล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม

    ศาลปกครองสูงสุดพิพากษากลับคำพิพากษา คดีบีทีเอสซีฟ้องล้มการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ชี้ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เลือกปฏิบัติ การยกเลิกเป็นไปเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ระหว่างรัฐและเอกชน

    ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นและพิพากษากลับ ให้ยกฟ้องในคดีที่บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1 และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2

    กรณีมีมติการประชุม เมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2564 เห็นชอบให้ยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนตามโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ลงวันที่ 3 ก.ค. 2563 และยกเลิกการคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนฯ ดังกล่าว

    ศาลพิเคราะห์แล้ว เห็นว่าการยกเลิกประกาศเชิญชวนและการยกเลิกการคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนมิได้เป็นไปโดยอำเภอใจ และการยกเลิกเป็นไปเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ระหว่างรัฐและเอกชน ตาม ม.6 พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ซึ่งถือเป็นการกระทำโดยสุจริตไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ และเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย

    ดังนั้น การที่ศาลปกครองชั้นต้น พิพากษาเพิกถอนมติของคณะกรรมการฯ และยกเลิกการคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนฯ รวมถึงเพิกถอนประกาศของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เรื่อง ยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม และยกเลิกการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนตามประกาศเชิญชวนดังกล่าวของวัน 3 ก.พ. 2563 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ มีมติ นั้น ศาลปกครองสูงสุดไม่เห็นพ้องด้วย จึงพิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง

    ที่มา workpointtoday

    ติดตามอ่าานข่าวเศรษฐกิจได้ที่ technobiography.com