ตาลีบัน หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า นักเรียน หรือ ผู้แสวงหา เป็นกลุ่มติดอาวุธ ที่มีอิทธิพลในพื้นที่ตะวันออกกลาง โดยเฉพาะพื้นที่ของประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศหุบเขาทะเลทราย ที่ตะวันตกมองว่าเป็นแหล่งซ่องสุมของกลุ่มก่อการร้ายระดับโลก ทั้งตาลีบัน อัลกออิดะห์ และกลุ่มติดอาวุธอื่นๆ กลายเป็นกองกำลังก่อความไม่สงบ
ตาลีบัน ประกาศปิดมหาวิทยาลัย ห้ามผู้หญิงเข้าเรียน
คำสั่ง ประกาศปิดมหาวิทยาลัยหลายแห่งในอัฟกานิสถานที่เปิดรับนักศึกษาหญิง คาดว่ามีผลบังคับใช้ทันที จนกว่าจะมีการออกประกาศเพิ่มเติม ตามที่ระบุไว้ในจดหมายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของรัฐบาลตาลีบัน
การจำกัดการเข้าถึงระบบการศึกษาอย่างเป็นทางการของผู้หญิงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนับจากตาลีบันขึ้นครองอำนาจ โดยก่อนหน้านี้ ตาลีบันสั่งห้ามเด็กผู้หญิงไม่ให้เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย นักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงคาบูลรายหนึ่งเธอร่ำไห้ไม่หยุดตั้งแต่ได้ยินข่าวนี้
เมื่อ 3 เดือนก่อน เด็กสาวและผู้หญิงหลายพันคนสอบเข้ามหาวิทยาลัยทั่วอัฟกานิสถานภายใต้ข้อจำกัดมากมาย โดยพวกเธอไม่ได้รับอนุญาตให้ลงทะเบียนเรียนในหลายสาขาวิชา อาทิ สัตวแพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เกษตรศาสตร์ และสื่อสารมวลชน
มหาวิทยาลัยต่างๆ ต้องแนะนำการเรียนการสอน และจัดสอบโดยแยกเพศ ชาย-หญิง นักเรียน/นักศึกษาหญิงจะได้รับการสอนโดยอาจารย์ที่เป็นผู้หญิง หรือเป็นชายสูงวัยเท่านั้น นักศึกษาหญิงจากมหาวิทยาลัยที่ถูกสั่ง “แบน” ตามคำสั่งล่าสุดของตาลีบันบอกว่า เธอคิดว่าตาลีบันกลัวผู้หญิงและอำนาจของผู้หญิง
“พวกเขาทำลายสะพานเพียงแห่งเดียว (ระบบการศึกษา) ที่เชื่อมต่อฉันกับอนาคตของฉัน” เธอกล่าว
“แล้วฉันจะตอบโต้อะไรได้บ้าง ฉันเชื่อว่าสามารถเรียนหนังสือและเปลี่ยนแปลงอนาคตตัวเองได้ หรือนำแสงสว่างมาสู่ชีวิตของฉัน แต่พวกเขากลับทำลายมัน”
ผลกระทบที่มีต่อภาคการศึกษา
ภาคการศึกษาของอัฟกานิสถานได้รับผลกระทบอันเลวร้าย ภายหลังตาลีบันยึดอำนาจการปกครอง ขณะที่บรรดานักวิชาการจำนวนมากต่างพยายามอพยพออกจากประเทศ หลังจากกองทัพสหรัฐฯ ถอนกำลังออกจากพื้นที่เมื่อเดือน ส.ค. 2021
หญิงอีกคนเล่าถึง “ความยุ่งยากหลายประการ” ที่เธอต้องเผชิญ เพื่อพยายามให้ตัวเองยังอยู่ในระบบการศึกษาของประเทศนี้ต่อไปได้ เธอกล่าวว่า “เราต้องสู้ต่อกับพี่ชายตัวเอง พ่อ สังคม หรือแม้แต่สู้กับรัฐบาล… เราผ่านสถานการณ์ที่ยากลำบาก เพียงแค่จะได้เรียนต่อไป”
“ตอนนั้น อย่างน้อยฉันก็มีความสุขที่สามารถเรียนจนจบมหาวิทยาลัย และทำตามความฝันได้สำเร็จ แต่ตอนนี้ ฉันจะปลอบใจตัวเองอย่างไรดี”
เศรษฐกิจของอัฟกานิสถานพึ่งพาความช่วยเหลือจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่หน่วยสังคมสงเคราะห์ได้ถอนการสนับสนุนด้านการศึกษาบางส่วนหรือทั้งหมด หลังจากตาลีบันปฏิเสธการเข้าศึกษาของนักเรียนหญิงในระดับมัธยม ขณะที่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาจำนวนมากยังไม่ได้รับการจ่ายเงินเดือนเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว ดังนั้น มาตรการล่าสุดของตาลีบันจึงมีแนวโน้มสร้างความกังวลให้แก่ประชาคมระหว่างประเทศ
สหรัฐฯ และชาติตะวันตกกำหนดว่า การพัฒนาด้านการศึกษาของผู้หญิงในอัฟกานิสถาน เป็นเงื่อนไขลำดับแรก ๆ เพื่อแลกกับการยอมรับรัฐบาลตาลีบันอย่างเป็นทางการ
โรเบิร์ต วูด ผู้ช่วยเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำสหประชาชาติ ประณามท่าทีล่าสุดของตาลีบัน
“กลุ่มตาลีบันไม่สามารถคาดหวังว่าจะเป็นสมาชิกที่ถูกต้องตามกฎหมายของประชาคมระหว่างประเทศได้ จนกว่าพวกเขาจะเขารับสิทธิของชาวอัฟกันทุกคน” เขากล่าว
“โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของสตรีและเด็กผู้หญิง”
ย้อนไปเมื่อเดือน พ.ย. ทางการสั่งห้ามผู้หญิงไม่ให้เข้าสวนสาธารณะในกรุงคาบูล เมืองหลวงของอัฟกานิสสถาน โดยอ้างว่าไม่เป็นไปตามกฎหมายอิสลาม
ครูพลัดถิ่นเปิดโรงเรียนออนไลน์ หลังตาลีบันห้ามผู้หญิงไปโรงเรียน
หลังจากกลุ่มตาลีบันเข้ายึดอำนาจในอัฟกานิสถานก็ได้มีคำสั่งให้เด็กนักเรียนและนักศึกษาหญิงอยู่กับบ้าน และไม่ต้องออกไปเรียนหนังสือ “เพื่อความปลอดภัยของตนเอง” แม้ตาลีบันระบุว่าจะบังคับใช้คำสั่งนี้เพียงชั่วคราว แต่ก็ดูเหมือนจะยังไม่มีวี่แววว่าจะมีการยกเลิกในเร็ววัน นี่จึงทำให้ครูชาวอัฟกันในต่างแดนคนหนึ่งตัดสินใจยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือเด็กนักเรียนเหล่านี้
ภายในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ของการเปิด “โรงเรียนออนไลน์” แอนเจลา ไกเยอร์ ก็รับเด็กเข้าเรียนเกือบ 1,000 คน และมีอาสาสมัครมาช่วยสอนเกือบ 400 คน
แอนเจลามีอายุเพียง 8 ขวบ ตอนที่อัฟกานิสถานตกอยู่ในห้วงของสงครามกลางเมืองเมื่อปี 1992 ครอบครัวของเธอต้องละทิ้งบ้านเกิดในเมืองเฮรัต ทางภาคตะวันตกของประเทศ แล้วลี้ภัยเข้าไปอยู่ในอิหร่าน ซึ่งในช่วง 5 ปีหลังจากนั้น แอนเจลาไม่มีสิทธิได้เข้าโรงเรียนเหมือนเด็กคนอื่น เนื่องจากครอบครัวอาศัยอยู่ในอิหร่านด้วยวีซ่าพักอาศัยชั่วคราว
“มันเป็นเรื่องปกติในตอนนั้นที่เด็กชาวอัฟกันที่ลี้ภัยไปอยู่ในอิหร่านจะไม่ได้เข้าโรงเรียน เพราะพวกเขาไม่มีเอกสารที่ถูกต้อง” แอเจลา เล่าพร้อมกับเหม่อมองท้องทะเลจากหน้าต่างบ้านพักในปัจจุบันของเธอที่เมืองไบรตัน ในอังกฤษ
หลังจากอยู่ในอิหร่านได้ 5 ปี ในที่สุดพ่อของแอนเจลาก็ได้เอกสารที่ช่วยให้เธอสามารถเข้าโรงเรียนในประเทศนี้ได้ และเมื่ออายุได้เพียง 13 ปี แอนเจลาก็รู้ตัวว่าเธออยากจะทำอะไรเมื่อโตขึ้น
ทุกวันหลังเลิกเรียน แอนเจลาจะรีบกลับบ้าน เพื่อสอนสิ่งที่ได้เรียนรู้มาให้แก่เด็กชาวอัฟกันอีก 14 คนที่ไม่มีสิทธิได้เข้าโรงเรียน ตอนนั้นพ่อของแอนเจลาทำงานเป็นคนทำสวน เธอจึงเปลี่ยนสวนที่พ่อดูแลอยู่ให้กลายเป็นห้องเรียนเล็ก ๆ เพื่อถ่ายทอดทุกอย่างที่เธอเพิ่งได้เรียนมาในวันนั้นให้กับเพื่อนๆ ทั้งวิชาการอ่าน การเขียน และคณิตศาสตร์
เหตุผลที่เปิดโรงเรียนออนไลน์
เมื่อตาลีบันถูกโค่นอำนาจในอีกหลายปีต่อมา แอนเจลาได้กลับคืนสู่แผ่นดินเกิด และได้ทำงานเป็นครูโรงเรียนมัธยม ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ประเทศเนเธอร์แลนด์ และในที่สุดก็มาลงหลักปักฐานในสหราชอาณาจักร
แอนเจลาไม่ต่างจากชาวอัฟกันพลัดถิ่นหลายคน ที่รู้สึกตกตะลึงเมื่อได้เห็นอัฟกานิสถานต้องพลิกโฉมไปอย่างรวดเร็ว หลังจากสหรัฐฯ ถอนทหารชุดสุดท้ายออกมาในเดือน ส.ค. และตาลีบันได้กลับคืนสู่อำนาจ ในชั่วพริบตาความคืบหน้าด้านสิทธิทางการศึกษาของเด็กหญิงชาวอัฟกันตลอดช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาต้องตกอยู่ในอันตราย ตาลีบันอ้างว่าคำสั่งห้ามสตรีออกไปทำงานนอกบ้าน และห้ามเด็กผู้หญิงไปเรียนหนังสือนั้นจะมีขึ้นเพียงชั่วคราว เพื่อรับประกันว่าสภาพแวดล้อมของสถานที่ทำงาน และสถานศึกษาจะปลอดภัยสำหรับพวกเธอ
แต่ความคิดที่ว่าเด็กหญิงอัฟกันต้องถูกตัดโอกาสทางการศึกษาอีกครั้ง เหมือนตอนที่เธอเคยเผชิญในช่วง 5 ปีแรกที่อยู่ในอิหร่าน ก็ทำให้แอนเจลารู้สึกหดหู่ใจเป็นอย่างมาก และหลังจากผ่านมา 3 เดือนโดยที่ยังไม่มีสัญญาณว่าตาลีบันจะผ่อนคลายข้อห้ามดังกล่าว เธอจึงตัดสินใจว่าจะต้องทำอะไรบางอย่าง
การก่อตั่งโรงเรียนออนไลน์
แอเจลาได้ก่อตั้ง “โรงเรียนออนไลน์แห่งเฮรัต” (Online Herat School) เพื่อเป็นแหล่งการศึกษาของผู้หญิงและเด็กหญิงชาวอัฟกัน โดยหลังจากเธอโพสต์ข้อความขอความช่วยเหลือทางอินสตาแกรม ก็มีอาสาสมัครเกือบ 400 คน มารับหน้าที่สอนวิชาต่างๆ ผ่านทางแอปพลิเคชันเทเลแกรม และสไกป์ วิชาที่เปิดสอนมีกว่า 170 ชั้นเรียน ตั้งแต่คณิตศาสตร์ ไปจนถึงการทำอาหาร และวาดภาพ โดยครูส่วนใหญ่มาจากอิหร่าน และสอนวันละ 2-8 ชั่วโมง
“ฉันรู้สึกว่าโรงเรียนนี้เป็นผลลัพธ์จากความเจ็บปวด ความทุกข์ระทม และประสบการณ์ของฉัน” แอนเจลากล่าว
“คำขวัญของพวกเราคือ ปากกายังดีกว่าปืน”
โรงเรียนออนไลน์ของแอนเจลาและเหล่าอาสาสมัครได้ช่วยเปิดโลกแห่งการเรียนรู้ให้เด็กนักเรียนเกือบ 1,000 คน หนึ่งในนั้นคือ เด็กหญิงนัสรีน (นามสมมุติ) วัย 13 ปีที่อาศัยอยู่กับพี่น้องหญิง 4 คนในกรุงคาบูล โดยนับแต่ตาลีบันประกาศไม่ให้เด็กหญิงอายุตั้งแต่ 7 ขวบไปโรงเรียน ลูกสาวทั้งหมดของครอบครัวนี้ต่างก็ไม่ได้ไปโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยอีกเลย
แม้เด็กหญิงเหล่านี้จะพยายามอย่างดีที่สุดในการเรียนหนังสืออยู่ที่บ้าน แต่มันก็ยากเป็นพิเศษสำหรับพี่สาวคนโต 2 คนของนัสรีน ที่ศึกษาอยู่คณะแพทย์ศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัย
“ความฝันทั้งหมดของหนูต้องพังทลายลง…หนูอยากเป็นนักบิน แต่ตอนนี้มันคงจะไม่มีวันได้เกิดขึ้น เพราะตาลีบันคงไม่ยอมให้ผู้หญิงเป็นนักบิน” นัสรีนกล่าว
อย่างไรก็ตาม บรรดาเด็กหญิงยังพอจะมีแสงแห่งความหวังจากโรงเรียนออนไลน์ของแอนเจลา ตอนนี้นัสรีนกำลังเรียนภาษาตุรกีกับครูอาสาคนหนึ่ง เธอบอกว่าสักวันหนึ่งอยากจะย้ายไปอยู่นครอิสตันบูล และหลักสูตรออนไลน์เหล่านี้ก็ช่วยสานฝันของเธออีกครั้ง
ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เริ่มมีข่าวดีสำหรับเด็กนักเรียนหญิงที่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือของอัฟกานิสถาน ซึ่งได้เริ่มกลับเข้าเรียนตามโรงเรียนมัธยมต่างๆ ใน 5 จังหวัด จากทั้งหมด 34 จังหวัดทั่วประเทศ ขณะที่นักศึกษาหญิงในมหาวิทยาลัยเอกชนต่างก็ได้รับอนุญาตให้กลับเข้าเรียนกันอีกครั้ง แต่ยังไม่มีการผ่อนคลายกฎให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐ
ส่วนนัสรีนกับพี่น้องหญิง รวมทั้งนักเรียนและนักศึกษาหญิงในกรุงคาบูล ตลอดจนพื้นที่ส่วนใหญ่ของอัฟกานิสถาน ยังคงไม่ได้รับอนุญาตให้กลับเข้าเรียน เช่นเดียวกับครูอาจารย์ผู้หญิง อย่างแม่ของนัสรีน ที่ได้รับคำสั่งให้อยู่บ้าน โดยที่ตาลีบันยังไม่มีแผนการว่าจะให้พวกเธอกลับไปทำงานได้อีกเมื่อใด
จากเหตุการณ์ตาลีบันก่อความไม่สงบเกี่ยวกับด้านการศึกษา ทำให้มีการประเมินขององค์การสหประชาชาติระบุว่า 70% ของครูในกรุงคาบูลเป็นผู้หญิง ดังนั้น แม้นักเรียนนักศึกษาชายจะได้รับอนุญาตให้เรียนหนังสือได้ตามปกติ แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะมีครูไม่เพียงพอที่จะสอนพวกเขา ปัญหาขาดแคลนบุคลาการทางการศึกษามีมาตั้งแต่ก่อนที่ตาลีบันจะกลับขึ้นสู่อำนาจแล้ว ส่งผลให้คนอัฟกันจำนวนมากเข้าไม่ถึงการศึกษา โดยข้อมูลในปี 2019 ของกระทรวงศึกษาธิการระบุว่า กว่า 1 ใน 3 ของชาวอัฟกันอายุ 15 ปีขึ้นไปเป็นคนไม่รู้หนังสือ
เรื่องราวรอบโลกอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- ซูดาน ยังอยู่ในวิกฤตเหตุความไม่สงบของการเมือง
- เอไอ สร้างผลงานนักร้องในวงการเพลงเค-ป็อป
- แฝด 7 จากครอบครัว Mccaughey ที่รอดชีวิตกลุ่มแรกของโลก
- ภาวะหัวใจหยุดเต้น เฉียบพลัน เหตุหญิงชาวเอกวาดอร์ “ตายแล้วฟื้น”
ที่มาของบทความ
ติดตามอ่านเรื่องรอบโลกได้ที่ technobiography.com
สนับสนุนโดย ufabet369