Health

  • แนะทำครอบฟัน ช่วยการบดเคี้ยว เพิ่มความมั่นใจ
    แนะทำครอบฟัน ช่วยการบดเคี้ยว เพิ่มความมั่นใจ

    แนะทำครอบฟัน ช่วยการบดเคี้ยว เพิ่มความมั่นใจ

    กรมการแพทย์ โดยสถาบันทันตกรรม แนะการครอบฟัน ช่วยฟันที่เสียหาย แตกหัก หรือฟันที่ได้ผ่านการรักษา คลองรากฟัน กลับมาแข็งแรง มีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยว และสร้างความมั่นใจ

    นายแพทย์ไพโรจน์ สุรัตนวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึง การครอบฟัน คือ การบูรณะฟันที่ได้รับความเสียหายจากฟันผุ ฟันแตกหัก ฟันสึก หรือฟันที่ได้ผ่านการรักษาคลองรากฟันแล้ว

    ซึ่งส่วนใหญ่มักมีความเสียหายจนไม่สามารถบูรณะด้วยการอุดฟัน ซึ่งการครอบฟันนอกจากจะช่วยในการบดเคี้ยวอาหาร ยังช่วยในการปรับเรียงตัวของฟัน

    ปรับสีฟันและรูปร่างฟันที่ไม่สวยงาม ช่วยให้ฟันเรียงตัวและมีสีฟันสวยงาม สร้างความมั่นใจทำให้มีรอยยิ้มที่มั่นใจยิ่งขึ้น

    ทันตแพทย์หญิง ดร.สุมนา โพธิ์ศรีทอง ผู้อำนวยการสถาบันทันตกรรม

    กล่าวเพิ่มเติมว่า การทำครอบฟันจะช่วยให้ฟันกลับมาแข็งแรง และเพิ่มประสิทธิภาพในการบดเคี้ยว สามารถใช้งานได้ยาวนานขึ้น ซึ่งการทำครอบฟัน สามารถทำด้วยวัสดุหลายประเภท แต่ที่นิยมใช้ ได้แก่ วัสดุประเภทโลหะล้วน เซรามิกล้วน หรือโลหะเคลือบด้วยเซรามิก

    การเลือกวัสดุขึ้นอยู่กับการสบฟัน ความสวยงาม ราคา และความพึงพอใจของผู้ป่วย หลังทำการครอบฟันควรระมัดระวังในการใช้งาน กรณีฟันหน้าไม่ควรใช้กัดของแข็ง และควรดูแลทำความสะอาด เพื่อป้องกันฟันผุใต้ครอบฟัน และป้องกันเหงือกอักเสบ โดยแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ร่วมกับใช้ไหมขัดฟัน และพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน

    นอกจากนี้ หากพบความผิดปกติหลังการครอบฟันควรกลับไปพบทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาโดยเร็ว

    ติดตามบทความและข่าวสุขภาพที่น่าสนใจอื่น ๆ ได้ที่ technobiography.com

Economy

  • เวิลด์แบงก์ เตือน ปี 66 เศรษฐกิจถดถอยคืบคลานทั่วโลก
    เวิลด์แบงก์ เตือน ปี 66 เศรษฐกิจถดถอยคืบคลานทั่วโลก

    เวิลด์แบงก์ เตือน ปี 66 เศรษฐกิจถดถอยคืบคลานทั่วโลก หั่น GDP สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 30 ปี

    ธนาคารโลก เตือน ปี 2566 ภาวะเศรษฐกิจถดถอยคืบคลานในหลายประเทศ พร้อมหั่น GDP ทั่วโลกเหลือโต 1.7% โตช้าสุดนับตั้งแต่ปี 2536 ตลาดเกิดใหม่น่าห่วงสุด หลังเผชิญภาวะหนี้ท่วม เฝ้าระวังวิกฤติซัพพลายเชน อาจกดดันเศรษฐกิจเลวร้ายลง

    หั่น GDP ทั่วโลกเหลือโต 1.7% โตช้าสุดนับตั้งแต่ปี 2536

    ธนาคารโลก (World Bank) ปรับคาดการณ์การเติบโตในปี 2566 ลงเหลือระดับที่ใกล้จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในหลายประเทศ โดยในรายงาน Global Economic Prospects ฉบับล่าสุด มีการคาดการณ์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของทั่วโลก (GDP) เหลือเติบโตเพียง 1.7%

    จากเดิมที่มีการคาดการณ์และเผยแพร่รายงานเมื่อช่วงเดือนมิถุนายนปี 2565 ว่าจะเติบโตที่ประมาณ 3.0% ซึ่งเป็นอัตราที่สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตช้าที่สุดนับตั้งแต่ปี 2536 ที่นอกเหนือจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2552 ที่กระทบจากวิกฤติซับไพรม์ และ 2563 ที่กระทบจากวิกฤติโควิด

    ตลาดเกิดใหม่น่าห่วงสุด หลังเผชิญภาวะหนี้ท่วม

    ทั้งนี้ธนาคารโลกได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ลงเหลือ 0.5% อาจบ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยรอบใหม่ทั่วโลกน้อยกว่า 3 ปี หลังจากเกิดครั้งล่าสุด

     

    ขณะที่การเติบโตของจีนในปี 2565 ที่ผ่านมาลดลงเหลือ 2.7%

    เวิลด์แบงก์ เตือน ปี 66 เศรษฐกิจถดถอยคืบคลานทั่วโลก หั่น GDP สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 30 ปี

    ซึ่งเป็นอัตราที่ช้าที่สุดเป็นอันดับ 2 นับตั้งแต่กลางปี 1970 ซึ่งเป็นระยะแรกของการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน เนื่องจากข้อจำกัดจากนโยบายโควิดเป็นศูนย์ของรัฐบาลจีน อีกทั้งยังมีความวุ่นวายในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนภัยแล้งที่ส่งผลกระทบต่อการบริโภค การผลิต และการลงทุน

    ในปี 2566 ธนาคารโลกคาดว่าการเติบโตของจีนจะดีดตัวขึ้นเป็น 4.3% แต่ต่ำกว่าการคาดการณ์ในเดือนมิถุนายน 0.9%

    ส่วนการเติบโตของตลาดเกิดใหม่ และประเทศที่กำลังพัฒนา ต่างเผชิญความท้าทายกับภาระหนี้จำนวนมหาศาล เงินที่อ่อนค่า รวมถึงการลงทุนของภาคธุรกิจที่ชะลอตัวลง โดยธนาคารโลกคาดว่าแนวโน้มการลงทุนธุรกิจจะเติบโตในอัตรา 3.5% ต่อปีในช่วง 2 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นอัตราที่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของอัตราการเติบโคในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา

    เฝ้าระวังวิกฤติซัพพลายเชน อาจกดดันเศรษฐกิจเลวร้ายลง

    สำหรับสาเหตุที่กดดันการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมของโลกนั้น เป็นการรับผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางที่ทวีความรุนแรงขึ้น ความยืดเยื้อของสงครามของรัสเซียในยูเครน

    ทั้งนี้ธนาคารโลกยังระบุอีกว่า ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่เปราะบาง การพัฒนาเชิงลบ อย่างอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าที่คาดไว้ จนนำมาสู่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างกะทันหันเพื่อควบคุมการกลับมาระบาดอีกครั้งของโควิด ตลอดจนความตึงเครียดทางการเมืองที่ทวีความรุนแรงขึ้น เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยทั้งสิ้น

    แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเริ่มลดลงเมื่อช่วงสิ้นปี 2565 จากการที่ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ลดลง แต่ยังมีความเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังอยู่ โดยเฉพาะการเกิดวิกฤติซัพพลาย ที่อาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอาจสูงขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจกดดันธนาคารกลางตอบโต้ด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากกว่าที่คาดไว้ ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกเลวร้ายลงกว่าเดิม.

    ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th

    สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : technobiography.com